วันพฤหัสบดีที่ 24 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2554

ปัญหาสิ่งแวดล้อมระดับสากล

    คำว่าสิ่งแวดล้อม ถ้าให้แต่ละคนนึก บางคนก็อาจจะนึกถึงสภาพสิ่งแวดล้อมที่แตกต่างกันออกไป  เช่น  บางคนอาจจะนึกถึงน้ำในแม่น้ำลำคลองที่เน่าเสีย  น้ำขุ่นข้นด้วยโคลนตมและขยะมากมาย  จะใช้อาบหรือใช้ดื่มกินเหมือนแต่ก่อนนั้นไม่ได้  บางคนอาจจะบอกว่า  ปัจจุบันดินที่ใช้ปลูกพืชนั้นเสียเพาะปลูกพืชก็ไม่เจริญเติบโต  บางคนอาจจะนึกถึงอากาศที่หายใจในชุมชนที่แออัด  ไม่สดชื่นเหมือนในชนบทในที่ที่มีทุ่งนา  ป่า  เขาโล่งกว้าง  ที่มีผู้คนอยู่กันไม่มากนัก  เพราะกลิ่นที่ไม่สดชื่นนั้น  รูปชุมชนแออัด มีกลิ่นเหม็นของขยะที่มนุษย์นำมากองสุมกันไว้ และยังมีกลิ่นเหม็นจากควันรถยนต์และจักรยานยนต์  นอกจากนั้นก็มีเขม่าและควันไฟจากปล่องของโรงงานอุตสาหกรรมอีกมากมาย  เหล่านี้เป็นสิ่งที่อยู่ใกล้ตัวเรา
 คงยังจำกันได้ถึงน้ำท่วมและลมพายุในภาคใต้  ซึ่งทำให้ผู้คนตลอดจนวัว  ควาย  สัตว์เลี้ยง  ล้มหายตายจากเป็นจำนวนมาก  แท่นขุดเจาะน้ำมันในอ่าวไทยพลิกคว่ำ และเรือกสวนไร่นาล่มเสียหาย  ครั้น พ.ศ. 2533  น้ำไหลบ่ามาท่วมภาคกลางเป็นเวลานาน  ทำลายบ้านเรือน  ถนนหนทาง  สะพาน และพืชผัก  ตลอดจนข้าวปลาอาหาร  น้ำมากมายมหาศาลนี้มาจากไหน  ทำไมจึงเกิดขึ้นบ่อยครั้ง และลมพายุแรงที่ไม่เคยพบเคยเห็นอีกเล่า หรือเป็นเพราะเราช่วยกันตัดไม้ทำลายป่า และทำให้สิ่งแวดล้อมเป็นพิษคนละไม้คนละมือ  คำตอบก็ถือว่า  ป่าไม้ที่หายไป และพิษภัยในสิ่งแวดล้อมเริ่มแสดงผล  เป็นปัญหาในวงกว้างเกินกว่าที่เคยคิดกันไว้  ไกลจากตัวเราออกไป  กระทบต่อเพื่อนบ้าน  เพื่อนร่วมโลก  แล้วย้อนกลับมากระทบตัวเราด้วยในที่สุด
มนุษย์เราช่วยกันสร้างมลพิษขึ้นมา  จนกระทั่งทำลายสิ่งแวดล้อมตามธรรมชาติให้เสียไปใช่หรือไม่  ถ้าใช่  แล้วใครจะเป็นผู้แก้ไขสภาพแวดล้อมที่เสียไป  ให้กลับคืนสู่สภาพที่ดีขึ้นได้  คำตอบที่ทำได้และทำง่ายที่สุดก็คือ  ทุกคนจะต้องช่วยกันแก้ไขเสียตั้งแต่วันนี้  จะทำให้ปัญหาสิ่งแวดล้อมเป็นพิษลดลงได้มากในวันข้างหน้า  ถ้าทุกคนเห็นด้วย  พร้อมและเต็มใจที่จะช่วยกันลดมลพิษในสิ่งแวดล้อม  จงปฏิบัติดังต่อไปนี้
นอกจากนี้อาจจะมีวิธีอื่น ๆ  อีกที่สามารถแก้ไข  ควบคุม และป้องกันภาวะมลพิษ และ
ดวงอาทิตย์ศูนย์กลางของระบบสุริยจักรวาลเป็นต้นกำเนิดของพลังงานอันมหาศาล  ได้ส่งรังสีแม่เหล็กไฟฟ้ามายังโลกของเรา  แต่เนื่องจากมีบรรยากาศห่อหุ้มโลกอยู่หลายชั้น และมีองค์ประกอบต่าง ๆ  โดยเฉพาะกลุ่มเมฆและไอน้ำ  รังสีดวงอาทิตย์ (solar radiation)  ประมาณครึ่งหนึ่งเท่านั้นที่จะผ่านบรรยากาศลงมาถึงพื้นผิวโลกได้
รังสีแม่เหล็กไฟฟ้าจากดวงอาทิตย์  ประกอบด้วยรังสีที่อยู่ในช่วงคลื่นสั้นร้อยละ 95-99
การที่บรรยากาศห่อหุ้มโลกอยู่หลายชั้นนั้น  มีประโยชน์ต่อการดำรงชีพของสิ่งที่มีชีวิตเป็นอันมาก  เช่น  บรรยากาศชั้นบน  ช่วยกรองรังสีหลายอย่างที่เป็นอันตราย  เช่น  รังสีเอกซ์ และรังสีอัลตราไวโอเลต  ส่วนบรรยากาศชั้นล่างจะดูดซึมรังสีอินฟราเรดซึ่งโลกสะท้อนกลับ  นอกจากนั้นยังช่วยเก็บรักษาความร้อนที่ผิวโลกไว้  ไม่เช่นนั้นอากาศที่ผิวโลกจะเยือกเย็นถึง -40o ซ. โดยเฉลี่ยแทนที่จะเป็น 15o ซ.  ดังที่เป็นอยู่ในปัจจุบัน
เมื่อโลกได้รับรังสีจากดวงอาทิตย์  โลกจะแผ่รังสีสะท้อนกลับสู่บรรยากาศเรียกว่า รังสีโลก

    1.  ช่วยกันปลูกต้นไม้และดูแลรักษาต้นไม้ในบริเวณบ้าน  โรงเรียน  สวนสาธารณะ และ  ตามถนนหนทางทั่วไป
    2.  ทิ้งขยะให้เป็นที่ คือทิ้งลงในถังขยะ  ไม่ทิ้งลงในแม่น้ำลำคลอง และจงกำจัดขยะให้ถูก วิธี
    3.  ใช้ไฟฟ้าอย่างประหยัด  อย่าเปิดไฟฟ้าทิ้งไว้ หรือใช้เกินจำเป็นเพราะมีผลกระทบต่อการ ผลิตไฟฟ้าเพิ่มขึ้น  ซึ่งจะมีผลกระทบย้อนกลับบางประการมาสู่สิ่งแวดล้อมและมนุษย์ได้เช่นกัน
    4.  เลือกใช้ของอย่างประหยัด  เพราะนอกจากต้องซื้อหามาแล้ว  ในการผลิตยังใช้พลังงาน อีกไม่น้อย  เมื่อทิ้งขว้างก็กลายเป็นของเสีย  เกิดพิษภัยต่อสิ่งแวดล้อมตั้งแต่ต้นจนจบ  จึงควรคิดให้รอบคอบเสียก่อนทุกคราวไป  ดังนั้นขวดแก้วใส่น้ำหวานได้หลายต่อหลายครั้งจึงดีกว่ากระป๋อง  เพราะเราทิ้งกระป๋องเป็นขยะทุกครั้ง  แต่เราเอาขวดมาล้างแล้วใช้ใหม่ได้
    5.  ชักชวนกันใช้ของธรรมชาติ  เช่น  ใบตอง  ดีกว่าของทำเทียมขึ้นมา  ซึ่งได้แก่  ถุง พลาสติก  กล่องโฟมเก็บความร้อนหรือความเย็น  เพราะช่วยลดภัยในสิ่งแวดล้อมในระหว่างการผลิตและเมื่อทิ้งเป็นขยะ
    6.  ควบคุมการผลิตและการใช้สารมลพิษซึ่งมีผลกว้างไกล  เช่น  น้ำยาบางชนิดในเครื่องทำ ความเย็น  น้ำยาดับเพลิงแบบใหม่ (ฮาลอน)  เป็นต้น      สิ่งแวดล้อมที่อยู่รอบตัวเราที่มีปริมาณมากมายมหาศาลสุดที่จะนับได้  ได้แก่  ดิน  น้ำ  อากาศ  พืช  สัตว์  คน และสารต่าง ๆ  ซึ่งมีมากมายหลายชนิดที่เกี่ยวข้องกับการดำรงชีวิตประจำวันของมนุษย์  นอกจากนั้นยังมีสิ่งที่มนุษย์มองไม่เห็น  แต่ก็สามารถนำมาใช้ให้เกิดประโยชน์ได้  ได้แก่  พลังงานต่าง ๆ  เช่น  พลังงานความร้อน  แสง  เสียง และแม่เหล็กไฟฟ้า  เป็นต้น
 เมื่อกล่าวถึงสิ่งแวดล้อมเสียหรือเป็นพิษ  หมายความว่า  สภาพของสิ่งแวดล้อมเกิดการเปลี่ยนแปลงไปจนเกิดผลกระทบต่อการดำรงชีพของมนุษย์  ในปัจจุบันเรามักจะได้ยินที่กล่าวกันว่า  ดินเสีย  น้ำเสีย  อากาศเป็นพิษ และแสง  เสียงเป็นพิษ
รูปคนขายขนม
สาเหตุส่วนใหญ่เกิดจากการกระทำของมนุษย์นั้นเอง  เป็นต้นว่า
    1.  มนุษย์ตัดไม้ทำลายป่ากันมากขึ้น
    2.  มนุษย์เผาเชื้อเพลิงตามบ้านเรือน และตามโรงงานอุตสาหกรรมมากขึ้น
    3.  มนุษย์ผลิตสารสังเคราะห์บางอย่างที่ไม่สลายตัว และสลายตัวยากมากขึ้น  เช่น พลาสติก  โฟม  จึงทำให้เกิดขยะเหล่านี้มากขึ้น  ส่วนสารบางอย่างที่เป็นก๊าซ  เช่น  ฟรีออน  ซึ่งใช้ช่วยในการฉีดสเปรย์ และใช้ในเครื่องทำความเย็น  ก็จะมีปริมาณเพิ่มขึ้นในอากาศฟุ้งกระจายทั่วไป  ซึ่งจะไปทำลายโอโซนในบรรยากาศที่ห่อหุ้มโลกไว้ และมีผลกระทบทำให้อุณหภูมิของโลกสูงขึ้น
    4.  มนุษย์สร้างผลิตภัณฑ์ต่าง ๆ ขึ้นใช้แทนวัตถุดิบที่ได้จากธรรมชาติ  เช่น  ใช้ ไฟเบอร์กลาสแทนไม้  ใช้ฟรีออนแทนแอมโมเนียเหลวในตู้เย็น และใช้ผงซักฟอกแทนสบู่  เป็นต้น  เมื่อใช้แล้วมีสิ่งตกค้างเป็นมลพิษอยู่ในอากาศ  ในน้ำ และในดิน  ทำให้เกิดผลเสียหายต่อพืช  สัตว์และมนุษย์ด้วยกันเองในที่สุด
    5.  มนุษย์สร้างอุปกรณ์เครื่องใช้ไฟฟ้าบางชนิดที่ให้ความร้อน  แสง  เสียง  ที่ทำให้เกิด อันตรายต่อมนุษย์ได้มากขึ้น
    6.  มนุษย์สร้างยานพาหนะที่ใช้ในการเดินทาง  เช่น  จักรยานยนต์  รถยนต์ และยานอวกาศ เพื่อออกไปสำรวจอวกาศภายนอกโลกมากขึ้น  ก๊าซที่เหลือจากการเผาไหม้ของเชื้อเพลิง  ได้แก่  ออกไซด์ของไนโตรเจนและคาร์บอนจะมีปริมาณเพิ่มขึ้นในอากาศ
สารมลพิษ
    หมายถึงสารต่าง ๆ ที่มีอยู่ในดิน  ในน้ำ และในอากาศ  มีปริมาณมากกว่าปกติ  ทำให้เกิดผลกระทบต่อการดำรงชีพของมนุษย์  พืชและสัตว์  ถ้าแยกประเภทสารมลพิษออกตามสถานะจะมีอยู่ 3 กลุ่ม  คือ
    1.  สารมลพิษที่อยู่ในสถานะก๊าซ  เช่น  ก๊าซคาร์บอนมอนอกไซด์  คาร์บอนไดออกไซด์ ของธาตุกำมะถัน  ไนโตรเจน และคลอรีน  เป็นต้น
    2.  สารมลพิษที่อยู่ในสถานะของเหลว  เช่น  ละอองน้ำกรดต่าง ๆ ของธาตุกำมะถัน ไนโตรเจนที่ละลายอยู่ในน้ำฝน หรือละลายอยู่ในน้ำใต้ดิน หรืออยู่ในน้ำเสียจากน้ำทิ้งตามบ้านเรือน และจากโรงงานอุตสาหกรรมต่าง ๆ  เมื่อไหลลงสู่แม่น้ำลำคลองก็จะทำให้น้ำเสีย  ทำให้พืชและสัตว์น้ำบางชนิดตายและสูญพันธุ์
    3.  สารมลพิษที่อยู่ในสถานะของแข็ง  เช่น  เขม่า  ควัน  สารสังเคราะห์บางอย่างที่ใช้แล้ว สลายตัวยาก  เช่น  ถุงพลาสติก  โฟม และไฟเบอร์  เป็นต้น  ทำให้มีขยะปะปนอยู่ในน้ำและในดินอยู่ทั่วไป
สภาวะที่เป็นพิษและที่เป็นอันตรายต่อมนุษย์
    1.  อากาศที่หายใจไม่บริสุทธิ์  มีเขม่า  ควัน  ปะปนมา  ตลอดจนมีกลิ่นเหม็น และมีก๊าซที่ เป็นอันตรายต่อระบบหายใจของมนุษย์
    2.  น้ำท่วมไร่นา  บ้านเรือน  ถนน  เสียหายโดยฉับพลัน
    3.  น้ำแข็งที่ขั้วโลกละลายมากขึ้น  ทำให้น้ำทะเลมีระดับสูง และไหลเข้ามาปนกับน้ำจืดใน แม่น้ำลำคลองมากขึ้น  ซึ่งจะเป็นอันตรายต่อบ้านเรือนและพืชที่ปลูกไว้ริมน้ำ
    4.  ฝนเป็นกรด  ทำลายพืชพันธุ์ธัญญาหาร  ทำลายดิน  ทำให้ปลูกพืชไม่งอกงาม
    5.  โลกจะร้อนขึ้น
    6.  ฤดูกาลจะแปรปรวน
    7.  ชั้นโอโซนถูกทำลาย และไม่ช่วยกรองรังสีอันตราย  ทำให้ตาเป็นต้อ และผิวหนังเป็น มะเร็ง
การเกิดมลพิษในสิ่งแวดล้อม
1.  มลพิษที่เป็นก๊าซ  ของเหลว และของแข็ง  จะเกิดขึ้นจากธรรมชาติ  จากการเผาไหม้ ของเชื้อเพลิง  จากการตัดไม้ทำลายป่า และจากการปนเปื้อนแทรกซึมของสารสังเคราะห์บางชนิดที่มนุษย์เราผลิตใช้กันมากขึ้น
2.  มลพิษที่เป็นพลังงาน  เช่น  พลังงานความร้อนที่ทำให้โลกมีอุณหภูมิสูงขึ้นเนื่องมาจาก
การตัดไม้ทำลายป่า  การทำลายโอโซนในบรรยากาศที่ห่อหุ้มโลกไว้  การสร้างยานพาหนะที่มีการเผาไหม้สูง หรือมีการเผาไหม้ที่ไม่สมบูรณ์  เป็นต้น  ส่วนมลพิษที่เป็นพลังงานชนิดอื่น  เช่น  แสง  เสียง และแม่เหล็กไฟฟ้านั้น  ก็เกิดจากการที่มนุษย์ผลิตสินค้าและผลิตภัณฑ์ใหม่ ๆ  ที่ไปทำลายประสาทหู  ตา และประสาทสัมผัสอื่นของมนุษย์มากขึ้น
 การควบคุมและการป้องกันแก้ไขปัญหามลพิษ
รูปน้ำเสียในชุมชน
     เมื่อทราบสาเหตุ และการเกิดมลพิษในสิ่งแวดล้อมแล้ว  เราก็จะสามารถแก้ไขปัญหาสิ่งแวดล้อมได้  ถ้าทุกคนทุกฝ่ายให้ความร่วมมือกัน  เช่น
    1.  ช่วยกันปลูกต้นไม้ให้มากขึ้น  ไม่ตัดไม้ทำลายป่าโดยไม่จำเป็น
    2.  ดูแลรถยนต์ไม่ให้มีควันดำ และหมั่นปรับเครื่องยนต์เสมอ     3.  ประหยัดพลังงานไฟฟ้า  เพราะมีส่วนช่วยลดเขม่าควัน  ก๊าซไอเสียต่าง ๆ  ตลอดจนกรด จึงช่วยป้องกันและลดฝนกรด  ตลอดจนลดก๊าซซึ่งทำให้โลกร้อนขึ้น
    4.  เลือกใช้ของอย่างประหยัด  โดยคิดถึงประโยชน์ระยะยาว  หากใช้ได้ซ้ำแล้วซ้ำอีก ย่อมดีกว่าใช้แล้วทิ้งทุกครั้ง  เช่น  ขวดแก้วใช้ได้ครั้งแล้วครั้งเล่า  แต่กระป๋องใช้ได้ครั้งเดียว  จึงต้องใช้พลังงานผลิตอยู่ร่ำไป
    5.  ใช้วัสดุธรรมชาติเช่น  ใบตอง  ดีกว่าวัสดุสังเคราะห์ซึ่งได้แก่  ถุงพลาสติก  กล่องโฟม เก็บรักษาความร้อนหรือความเย็น
สารมลพิษได้  หากเราทราบสาเหตุ  ตัวต้นเหตุ และการเกิดที่แน่นอนและชัดเจน ซึ่งได้แก่  รังสีคอสมิก  รังสีแกมมา และรังสีเอกซ์  ส่วนรังสีคลื่นยาวได้แก่  คลื่นวิทยุ  รังสีที่อยู่ในช่วงคลื่นสั้นเป็นรังสีที่มองเห็นได้ (visible rays) ร้อยละ 45  รังสีอินฟราเรด (infrared) ร้อยละ 46 และรังสีอัลตราไวโอเลต (ultraviolet) ร้อยละ 9 (terrestrial radiation)  ความยาวคลื่นจะขึ้นอยู่กับอุณหภูมิ  อุณหภูมิเฉลี่ยบนผิวโลก 150 ซ.  รังสีจากโลกเป็นรังสีอินฟราเรดในช่วงคลื่นยาว  ซึ่งแตกต่างจากรังสีอินฟราเรดจากดวงอาทิตย์ซึ่งเป็นช่วงคลื่นสั้น  ตามปกติแล้ว  ไอน้ำและคาร์บอนไดออกไซด์ในบรรยากาศจะมีปริมาณพอเหมาะและสามารถดูดซึมพลังงานส่วนนี้ไว้  ทำให้โลกเก็บความร้อนไว้อยู่ในระดับที่เหมาะสมต่อการดำรงชีวิตของคน  สัตว์ และพืช

วันเสาร์ที่ 29 มกราคม พ.ศ. 2554